ถัดจาก “วันอีดิ้ลฟิตริ” ไปอีก 2 เดือน 10 วัน โดยอ้างอิงจากปฏิทินจันทรคติแบบเดิม จะมีงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่อีกครั้ง เรียกว่า “วันอีดิ้ลอัฎฮา” ซึ่งตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮฺ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ของปฏิทินอิสลาม โดยในวันดังกล่าวนี้จะตรงกับช่วงเวลาที่มุสลิมทั่วโลกเดินทางไปทำฮัจญ์ หรือแสวงบุญ ณ นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ชาวไทยมุสลิมจึงนิยมเรียกกันว่า “วันรายอฮัจญี” “วันรายอฮัจญี” “วันอีดใหญ่” หรือ “ฮารีรายอกุรบาน” ทั้งนี้ เนื่องจากสิ่งสำคัญที่มุสลิมต้องทำเนื่องใน “วันอีดิ้ลอัฎฮา” คือ การเชือดสัตว์เพื่อเป็นพลีทาน หรือทำ “กุรบาน” สำหรับผู้ที่มีกำลังความสามารถ หรือมีทุนทรัพย์มากพอ
รายาฮัจญี (อัยฏิลอัฎฮา) หรือรายอกุรบาน เป็นวันที่ประชาชาติอิสลามร่วมเฉลิมฉลองพร้อมกันกับวันที่พี่น้องประชาชาติอิสลามทั่วโลกประกอบพิธีอัจย์ ณ นครเมกกะ ประเทศศาอุดีอาราเบีย ด้วยการกล่าวตักบีร ละหมาด และกุรบาน(ฆ่าสัตว์เพื่อนำเนื้อมารับประทานและแบ่งปัน) เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาและความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า(องค์อัลลอฮฺ) และรำลึกถึงประวัติของท่านศาสดาอิบรอฮิมอาลัยฮิซสาลามและครอบครัวที่เสียสละเพื่อเชิดชูคำสั่งองค์อัลลอฮฺ แม้ว่าการเสียสละนั้นเป็นเพียงการทดสอบที่มีค่ายิ่งต่อประชาชาติอิสลาม ที่องค์อัลลอฮฺได้ทรงประทานปัจจัยยังชีพและคุณประโยชน์อื่นๆที่ไม่สมารถคำนวณได้ ดังที่พระองค์ได้ประทานไว้ในคำภีร์อัลกุรอาน : ซูเราะห์ อัลบะเกาะเราะห์ อายะฮฺที่ 28
ความว่า : พวกเจ้าจะฝืนคำสั่งอัลลอฮฺได้อย่างไร ในขณะที่พวกเจ้ายังไม่มีชีวิตนั้นพระองค์ได้ทรงให้เจ้ามีชีวิต ต่อมาก็ให้เสียชีวิต ต่อมาก็ให้ฟื้นคืนชีพและไปพบพระองค์ผู้ทรงสร้าง
ประชาชาติผู้นับถือศาสนาอิสลามได้ร่าเริงในวันรายาอัยฎิลอัฏฮา เพื่อเป็นเครื่องหมายสัญญาณของการขอบคุณต่อองค์อัลลอฮฺที่ได้รับชัยชนะไม่เฉพาะเรื่องอัจญ์เท่านนั้นแต่เป็นความสำเร็จที่กว้างไกลเชื่อมโยงให้รำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุค ศตรรวรรษที่ 9 ฮิจเราะห์ศักราช... ให้เป็นข้อกำหนดที่ได้มีการประชุม และประกาศสู่สังคมอาหรับในนครเมกกะและสังคมโลกได้รับทราบ
จากสงครามทางศาสนาที่มีมายาวนานได้มีการเชื่อมสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชาวมุสลิมกับศาสนิกอื่นๆ เริ่มมีความมั่นคงและกระชับมากขึ้น สังคมในต่างศาสนาได้ยุติการขัดแย้งมีการคบหาไปมาหาสู่เป็นมิตราต่อกัน
นครเมกกะได้ถูกสถาปนาให้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเข้าไปทำกิจกรรมใด การอยู่พักอาศัยหรือเดินทางผ่าน จึงเป็นแผ่นดินต้องห้าเป็นที่ยอมรับของมนุษยชาติที่ยินยอมให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของประชาชาติอิสลามนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
รายออัจญี(อัยฎิลอัฎฮาหรือรายากุรบาน) มีความหมายลึกซึ้งและยิ่งใหญ่ในคุณค่าของมัน ซึ่งได้ฝังลึกอยู่ในจิตสำนึกของมวลมนุษยชนชาวมุสลิมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
วันรายอฮัจญี เป็นวันเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ในรอบปี เนื่องจากเป็นวันที่ตรงกันกับผู้ที่เดินทางไปเคารพไบตุลลอฮ์ ณ นครเมกกะ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคนจะหยุดการทำกิจกรรมอื่นๆ ไว้ทั้งหมด สำหรับผู้ที่ต้องออกไปประกอบอาชีพนอกถิ่นฐานบ้านเกิดก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเช่นเดียวกันกับวันรายออัยฎิลฟิตรี เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวันรื่นเริงกับญาติมิตร
เช้าตรู่วันรายอฮัจญี (นับจากวันรายาอัยฎิลฟิตรี 100 วัน ) เป็นวันประกอบศาสนกิจเช่นเดียวกันกับวันรายาอัยฎิลฟิตรี ต่างกันที่รายาฮัจญี ไม่มีการจ่ายซากาต แต่จะมีการเชือดกุรบาน ฆ่าสัตวจำพวก อูฐ โค กระบือ แพะ แกะฯ เป็นการแสดงออกถึงการศรัทธาและความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า (องค์อัลลอฮฺ) และรำลึกถึงประวัติของท่านศาสดาอิบรอฮิมอาลัยฮิซสามามและครอบครัว
เมื่อเสร็จสิ้นการประกอบศาสนกิจร่วมกัน ก็จะมีพิธีการทำกุรบาน เพื่อนำเนื้อสัตว์ที่ฆ่ามาเป็นอาหารและแจกจ่าย
ดังนั้นเดือนนี้จึงเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่และ ประเสริฐอีกเดือนหนึ่ง เดือนนี้มุสลิมผู้เคร่งศาสนาโดยเฉพาะผู้สูงอายุชาวใต้ที่ไม่มีโอกาสไปทำฮัจญฺ์ก็ จะปฏิบัติศาสนกิจพอสรุป ได้ดังต่อไปนี้
(1.) ถือศีลอด 9 วันแรกของเดือนซุลหิญญะฮฺ 9 วันแรกของเดือนซุลหิญญะฮฺ(เป็นเดือนที่ 12 ของปฏิทินอิสลาม) ศาสดามูฮัมหมัดทรงมีวจนะความว่า :ได้มีรายงานจากท่าน อิบนิอับบาส (อัครสาวกศาสดา)ว่า ท่านศาสดาได้กล่าวว่า วันซึ่งอัลลอฮฺเจ้าทรงอภัยโทษแก่ศาสดาอาดัมก็คือ
วันที่ 1 ของเดือนซุลหิญญะฮฺ ผู้ใดที่ทำการถือศีลอดในวันดังกล่าว อัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษบาปทั้งหมดของเขา
วันที่ 2 อัลลอฮฺทรงรับการขอพรของศาสดายูนุส โดยอัลลอฮฺทรงนำท่านศาสดายูนุสออกมาจากท้องปลาวาฬ ผู้ใดถือศีลอดในวัน ดังกล่าว เขาจะเปรียบเสมือนทำความดีต่ออัลลอฮฺ 1 ปี โดยมิได้ฝ่าฝืนบัญญัติของอัลลอฮฺ ในการทำความดีของเขาแม้ชั่วพริบตาเดียว
วันที่ 3 อัลลอฮฺทรงรับการขอพรจากศาสดาซาการียา อลัยฮิสลาม ผู้หนึ่งผู้ใดถือศีลอดในวันดังกล่าว อัลลอฮฺจะทรงรับการขอพรของเขา
วันที่ 4 เป็นวันที่ศาสดาอีซา อลัยฮิสลาม ทรงประสูติ ผู้หนึ่งผู้ใดถือศีลอดในวันนี้ อัลลอฮฺจะทรงทำให้ความเศร้าโศกเสียใจ และความยากจนหมดไปและในวันสิ้นโลกเขาจะอยู่ในกลุ่มของนักเดินทางผู้มีคุณธรรมและทรงเกียรติ
วันที่ 5 เป็นวันที่ศาสดามูซา อลัยฮิสลาม ทรงประสูติ ผู้ใดถือศีลอดในวันดังกล่าว เขาจะบริสุทธิ์จากการเป็นมุนาฟิก(หน้าไหว้หลังหลอก) และพ้นจากการลงโทษในสุสาน
วันที่ 6 เป็นวันซึ่งอัลลอฮฺ ทรงประทาน ความดีให้แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด ผู้หนึ่งผู้ใดทำการถือศีลอดในวันดังกล่าว อัลลอฮฺจะทรงทอดพระเนตรมายังเขาด้วยความเมตตา ฉะนั้นเขาจะไม่ถูกลงโทษหลังจากนั้นตลอดไป
วันที่ 7 คือ วันที่ประตูนรกถูกปิดและมันจะไม่ถูกเปิด จนกระทั่งวันที่ 10 ของเดือนซุลหิญญะฮฺล่วงเลยไป ผู้ใดที่ถือศีลอดในวันนี้อัลลอฮฺจะทรงปิดสามสิบประตูแห่งความยุ่งยาก และเปิดสามสิบประตูแห่งความสะดวกง่ายดายแก่เขา
วันที่ 8 ซึ่งถูกขนานนามว่าวัน “ตัรวียะฮฺ” ผู้ใดถือศีลอดในวันนี้ อัลลอฮฺ จะทรงตอบแทนความดี ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้นอกจากอัลลอฮฺ
วันที่ 9 คือ วันอะรอฟะฮฺ ผู้ใดถือศีลอดในวันนี้ อัลลอฮฺจะทรงลบล้างความผิดต่างๆ ในปีที่ผ่านมาและปีต่อไป”
(2.) วันอีดิ้ลอัฎฮา ตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิญญะห์ วันตรุษอีดิ๊ลอัฎฮาเป็นคำภาษาอาหรับมาจากคำว่า อีด แปลว่า รื่นเริง เฉลิมฉลอง และ อัฎฮา แปลว่า เชือดสัตว์พลีทาน
ดังนั้น วันตรุษอีดิ๊ลอัฎฮา จึงหมายถึง วันเฉลิมฉลองการ เชือดสัตว์เพื่อพลีทาน
ภารกิจและข้อควรปฏิบัติในวันตรุษาอีดิลอัฎฮา (ซึ่งคล้ายกับวันอีดิ้ลฟิตรี)
ก. ภารกิจก่อนละหมาด
1) การตักบีร (สรรเสริญความยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮ์ตลอดเวลา) ดังที่อัลลอฮ์ได้ดำรัสในอัลกุรอ่าน ความว่า “และท่านทั้งหลายจงกล่าวตักบีร อย่างกึกก้องต่อพระองค์” (ซูเราะห์อัลอิสรอ อายะที่ 111)
2) อาบน้ำและทำความสะอาดร่างกายก่อนสวมใส่เสื้อผ้าไปยังสถานที่ละหมาด พร้อมทั้งขจัดขนของอวัยวะเพศ ขนรักแร้ ตัดเล็บ และขจัดกลิ่นกาย (โปรดดูบันทึกอีหม่ามมาลิก 1/177 และอีหม่ามซาฟีอี ในหนังสือมุสนัด หมายเลข 88)
3) แต่งกายด้วยอาภรณ์ที่สวยงาม พร้อมทั้งใช้น้ำหอมยกเว้นสตรี
4) รับประทานอาหารเบา ก่อนที่จะไปละหมาด (ดังที่อีหม่ามตัรมีซีย์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือฮาดิษของท่าน หมายเลข 542)
4.1 ไปยังสถานที่ละหมาดตั้งแต่เช้า โดยเฉพาะมะมูม (ผู้ตามละหมาด) ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ (สมควรแต่ไม่ใช่เป็นการบังคับ)
- ออกไปและกลับด้วยการเดินเท้า
- การเดินไปและกลับจากการละหมาดควรใช้เส้นทางต่างกัน
4.2 กล่าวสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ ตลอดเวลาขณะเดินทาง
ทิศทางการละหมาดมุสลิมทั่วโลกจะหันหน้าไปทาง นครมักกะฮฺ โดยมีศูนย์กลาง ณ ที่ตั้งหินกาบะ ซึ่งมุสลิมจากทั่วโลกเดินทางไปร่วมพิธีฮัจ
ข. ภารกิจหลังละหมาดอีด
ทุกคนต้องฟังคุตบะห์ (ฟังธรรมเทศนา) จากนั้นทุกคนต่างก็แสดงความยินดีปรีดาต่อกัน ขออภัยต่อกันในสิ่งที่ได้ล่วงละเมิด ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม จากนั้นควรบริจาคทานกับเด็ก คนชรา หรือใครๆ ก็ได้ ที่ตัวเองประสงค์จะทำทาน ออกไปเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน อาจจะจัดกิจกรรมบนเวทีให้กับเด็กๆ เพื่อมอบความสุขให้กับเขาเหล่านั้นและที่สำคัญทีสุดคือ เชือดสัตว์พลีทาน (กุรบ่าน) ผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ ไม่ควรละเลยข้อปฏิบัตินี้อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่งในชีวิตจากท่านอิบนี่อับบาสเล่าว่า ท่านรอซู้ลลุลเลาะฮ์หรือศาสดาทรงกล่าวว่า ในวันอีดิ้ลอัฎฮาไม่มีการภักดีใดๆของมนุษย์จะเป็นที่โปรดปรานรักใคร่ของอัล ลอฮ์ ดียิ่งไปกว่าการทำกุรบ่าน
หลังละหมาดอีดทุกคนต้องฟังคุตบะห์ (ฟังธรรมเทศนา)
เริ่มเชือดกุรบ่านได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นของเช้าวันอีดิลอัฎฮา(หลัง ละหมาด) จนถึงเวลาละหมาดอัสรีของวันที่ 4 ของวันอีดรวม 4 วัน (วันอีด 1 วัน ตัสริก 3 วัน) แต่ระยะเวลาที่ดีเยี่ยมควรเชือดกุรบ่าน คือหลังจากเสร็จการละหมาดอีดิลอัฎฮาแล้ว การเชือดควรให้เจ้าของเป็นผู้เชือดเองหากจะมอบให้ผู้อื่นเชือดก็ควรดูการ เชือดด้วย
วันตัชรีก (3 วันหลังจากวันอีดอัฎฮา) เป็นวันแห่งการทำภารกิจศาสนาหลังการทำฮัจญ์ สำหรับผู่ที่มิได้ทำฮัจญ์ ถือเป็นอีกสามวัน เพื่อการทำกุรบาน และยังถือว่าเป็นช่วงของวันอีดของมุสลิม
สัตว์ที่แนะนำทำกรุบานได้
“กุรบาน” คือ การเชือดสัตว์ซึ่งได้แก่ แพะ แกะ วัว หรืออูฐ แจกจ่ายแก่ครอบครัว เครือญาติ ผู้ขัดสน หรือสังคม โดยสัตว์ที่นำมาเชือดจะต้องมีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่พิการ หรือมีตำหนิที่น่ารังเกียจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของนบีอิรอฮีม ซึ่งเป็นศาสดาที่สำคัญอีกท่านหนึ่งของศาสนาอิสลาม ผู้ซึ่งเคยถูกพระองค์อัลลอฮฺทดสอบจิตใจ และความศรัทธาของพระองค์โดยการใช้ให้เชือดบุตรชายอันเป็นที่รัก
ประวัติศาสตร์อิสลามเล่าว่า นบีอิบรอฮีมนั้นอายุมากแล้ว ประกอบกับแต่งงานมาหลายปีแล้วก็ยังไม่มีบุตร ท่านจึงได้วิงวอนขอต่อพระองค์อัลลอฮฺให้ประทานบุตรชายที่ดีให้แก่ท่านคนหนึ่ง ต่อมา เมื่อท่านแต่งงานกับนางฮาญัรนางได้คลอดบุตรชายคนหนึ่งตั้งชื่อว่า อิสมาอีล (ซึ่งต่อมาก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นศาสดาของศาสนาอิสลามเช่นเดียวกัน) นบีอิบรอฮีมรัก และเอ็นดูบุตรชายคนนี้ของท่านอย่างหาที่เปรียบมิได้ต่อมาพระองค์อัลลอฮฺก็ได้มีบัญชาใช้ให้นบีอิบรอฮีมเชือดบุตรชายสุดที่รักของท่านเพื่อความพึงพอพระทัยของพระองค์ พระบัญชาดังกล่าวถือเป็นบททดสอบครั้งยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อนบีอิบรอฮีม หลังจากท่านได้ผ่านบททดสอบหนักหนาสาหัสมามากมาย แต่ไม่มีครั้งใดที่ยากยิ่งไปกว่าครั้งนี้
นบีอิบรอฮีมจึงเรียกบุตรชายของพระองค์มาหาและเล่าคำบัญชาใช้ของพระเจ้าให้ฟัง อิสมาอีล บุตรชายของท่านตอบว่า “คุณพ่อครับอะไรก็ตามที่พ่อถูกบัญชาให้ทำพ่อจงทำหากเป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺ แล้วพ่อจะเห็นว่าฉันคือผู้อดทน” ได้ยินดังนั้น นบีอิบรอฮีมจึงพาบุตรชายออกเดินทางไกล โดยมีเจตนาแน่วแน่ว่าจะเชือดพลีบุตรชายตามพระบัญชาโดยที่อิสลาอีลบุตรชายสุดที่รักของท่านก็เห็นด้วย และยินดีที่จะพลีตนเองสนองต่อพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า
ระหว่างทางที่นบีอิบรอฮีมนำบุตรชายเดินทางไปเพื่อเชือดพลีก็มีมารร้ายพยายามยุแหย่ให้ไขว้เขว ไม่ให้ปฏิบัติตามคำบัญชา ท่านจึงใช้ก้อนหินขว้างมัน สักครู่หนึ่งมันก็กลับมายุแหย่รังควานท่านอีก ท่านจึงใช้ก้อนหินขว้างมันอีก มารร้ายจึงได้หลบหนีไป และเหตุการณ์ใช้หินขว้างมารร้ายนี้ก็เป็นที่มาของการขว้างเสาหินในขั้นตอนของการประกอบพิธีฮัจญ์
ปรากฏว่า เมื่อมาถึงสถานที่เชือด หลังจากนบีอิบรอฮีมได้ให้บุตรชายนอนลง และวางคมมีดลงบนคอของลูกน้อยหมายจะเชือด ก็ได้มีบัญชาจากพระองค์อัลลอฮฺว่า พระองค์ได้เห็นเจตนาที่แท้จริงที่นบีอิบรอฮีมต้องการจะเชือดพลีบุตรชายแล้ว ดังนั้น พระองค์จะตอบแทนความดีงามให้ และแท้จริงนี่เป็นเพียงบททดสอบจึงสั่งให้ท่านปล่อยตัวบุตรชายเป็นอิสระทั้งนี้พระองค์ทรงได้ให้ค่าตัวเขาด้วยการเชือดพลีอันยิ่งใหญ่ จากนั้นก็ได้ให้นบีอิบรอฮีมเชือดแกะแทนการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของท่าน
การเชือดสัตว์ หรือทำ “กุรบาน” เพื่อแจกจ่ายเนื่องในวันอีดิ้ลอัฎฮานี้ นอกจากจะเป็นการระลึกถึงการเสียสละ และความศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮฺอย่างล้นพ้นของนบีอิบรอฮีมแล้ว ยังถือเป็นการแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์อัลลอฮฺ และขัดเกลาจิตใจมุสลิมให้รู้จักเสียสละ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อีกด้วย
การเชือดสัตว์(ทำกุรบาน)
สัตว์ที่ใช้ทำกุรบ่าน คือ อูฐ วัว ควาย แพะ แกะ กีบัช อูฐ ต้องมีอายุ 5 ปีบริบูรณ์ ใช้ทำกุรบ่านได้ 7 ส่วน ดังนั้น จึงรวมกันทำ 7 คน/อูฐตัวเดียวก็ได้ หรือจะทำคนเดียวก็ยิ่งดี
วัว ควาย ต้องมีอายุ 2 ปีบริบูรณ์ ทำกุรบ่านได้ 7 ส่วน
แพะ ต้องมีอายุ 2 ปีบริบูรณ์ ทำกุรบ่านได้ 1 ส่วน
แกะและกิบัช ต้องมีอายุ 1 ปีบริบูรณ์ หรือเปลี่ยนฟันแล้ว ทำกุรบ่านได้ 1 ส่วน
สัตว์จะทำกุรบ่าน ต้องอ้วนสมบูรณ์ปราศจากสิ่งตำหนิหรือโรค ควรมีลักษณะสวยงามสง่า
สัตว์ที่ห้ามทำกุรบ่านไม่ได้ ได้แก่ สัตว์ที่เป็นโรค หรือพิการหรือไม่สมประกอบ เช่น ตาบอด หูแหว่ง เขาหัก ไม่มีฟัน แคระแก่น มีท้อง
เนื้อสัตว์ที่ทำกุรบ่านนั้น ให้แจกจ่ายแก่คนยากจนและเพื่อนบ้าน ควรเก็บไว้กินเองเพียงเล็กน้อยเท่านั้นนี่คือภาพรวมของภารกิจหรือวิถีมุสลิมภาคใต้กับเดือนซุลหิญญะฮฺ(เดือนแห่งการทำฮัจญ์)
พิธีการทางศาสนาที่สำคัญเนื่องในวันอีดทั้ง 2 วัน คือ การละหมาดวันอีด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ไม่บังคับ หมายถึงถ้าปฏิบัติก็จะได้รับผลบุญ ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่มีความผิดบาป เป็นการละหมาดในช่วงเช้าของวันอีด เพื่อขอพรให้พระองค์อัลลอฮฺประทานความจำเริญแก่ชีวิต พร้อมทั้งขออภัยโทษในความผิดบาปต่างๆ นานาด้วย ทั้งนี้ มุสลิมส่วนใหญ่มักจะนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเองเพื่อเฉลิมฉลองวันอีดร่วมกับครอบครัว และญาติพี่น้อง รวมทั้งเพื่อขอขมาลาโทษซึ่งกันและกัน และแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่ หรือที่สะอาดสวยงาม
“วันอีด” จึงถือเป็นวันรวมญาติครั้งยิ่งใหญ่ของพี่น้องมุสลิม โดยหลังจากละหมาดอีดในช่วงเช้าแล้ว จะมีการเลี้ยงอาหารเพื่อสังสรรค์กันในครอบครัว หรือเลี้ยงอาหารแก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งมอบของขวัญ ของกำนัลแก่กันด้วย ทั้งในรูปของขนม สิ่งของต่างๆ และเงิน เช่นเดียวกับอั่งเปาของชาวจีน นอกจากนี้ ก็ยังนิยมเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือไปเยี่ยมญาติตามต่างจังหวัด เพื่อแสดงความรักความห่วงใยที่มีต่อกัน และกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น
มอบของขวัญให้แก่เด็กๆ
สิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในเทศกาลแห่งความสุขก็คือ คำอวยพร สำหรับวันอีดทั้ง 2 วันของชาวมุสลิมนี้ก็เช่นเดียวกัน โดยนิยมอวยพรกันและกัน ดังนี้
“ตะก็อบบะลัลลอฮุ มินนา วามินกุม” เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า ขออัลลอฮฺทรงตอบรับการงานที่ดีจากเราและจากท่านพร้อมทั้งมีการขออภัยในความผิดที่ได้กระทำต่อกันแล้วๆ มาด้วยคำว่า “ขอมาอัฟ” ซึ่งเป็นภาษามลายูแปลว่า ขอโทษ ส่วนคำว่า “อีดมูบาร็อก” นั้นมาจากภาษาอาหรับ แปลว่า สุขสันต์วันอีด เช่นเดียวกับคำว่า “สลามัต ฮารีรายา / สลามัต ฮารีรายอ” ในภาษามลายู